บางนาชายเขตกรุงเทพฝั่งตะวันออก
ก่อนจะได้จัดตั้งให้บางนาเป็น ‘เขต’ เดิมบางนา เป็นเพียง ‘แขวง’ ส่วนหนึ่งของเขตพระโขนง ที่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 2 แขวง คือบางนา และบางจาก ต่อมาสภาพของเมืองติบโตขึ้นมาก ทางกรุงเทพฯ จึงปรับปรุงพื้นที่เขต โดยให้แขวงบางนา แยกออกมาเป็นเขตตั้งแต่ปี 2541 ในปัจจุบันพื้นที่เขตบางนานั้นเป็นชายเขตของกรุงเทพฯ ที่เชื่อมต่อจังหวัดสมุทรปราการ แต่ที่นี่ มีการเติบโตของสิ่งปลูกสร้างและการคมนาคมที่ขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากถนนสุขุมวิท ถนนเทพรัตน ทางด่วน ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษบูรพาวิถี รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว รถไฟฟ้าสายสีเหลือง หรือแม้กระทั้งท่าเรือบางนาที่สามารถข้ามไปบางกระเจ้าได้ จึงทำให้พื้นที่แห่งนี้น่าจับตามองว่าอนาคตเมืองจะเติบโตไปในทิศทางไหน แต่เราเคยตั้งข้อสังเกตกันไหม ว่าขึ้นชื่อว่า ‘บางนา’ ที่มีความหมายว่า เขตการทำเกษตรกรรม ปลูกข้าว ทำสวน แต่ไหนละพื้นที่สวน ไร่ นา ตั้งชื่อที่ตั้ง
ย่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่เลือนหาย
ทว่า หากเราอยากจะทราบเรื่องราวของย่านบางนาในตอนนี้ เราคงเลือกที่จะค้นหาในอินเตอร์เน็ตเป็นอย่างแรก แต่ก็มีข้อมูลทั่วไปอยู่เพียงน้อยนิด แต่มีที่หนึ่ง ที่ได้เก็บรวบรวมคุณค่าของความเป็นย่านไว้นั้นก็คือ ‘พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพ เขตบางนา’ ซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนวัดบางนาใน
พิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ที่ชั้น 1 ในอาคารหลังป้ายนี้
ภาพเก่าเล่าอดีต แสดงถึงการเริ่มต้นรุ่งโรจน์ในด้านอุตสาหกรรม สถานที่สำคัญ และการเปลี่ยนแปลงของย่าน
ความเป็นย่านเกิดจากผู้คน
สื่อภาพถ่ายแสดงเรื่องราวของชาวมอญผลัดถิ่นมาแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดเป็นการรวมวัฒนธรรม สร้างพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อความเป็นอยู่ อีกทั้งประวัติพระผู้สร้างศาสนสถานสำคัญของบางนา อย่าง หลวงปู่ชุ่ม วัดบางนาใน และพระราชปริยัตยาลงกรณ์
วัฒนธรรมท้องถิ่นและบุคคลสำคัญ
เทคโนโลยีเปลี่ยนวิถีชีวิตคน
ในปัจจุบันโลกของเราเต็มไปด้วยสิ่งประดิษฐ์ที่อัดแน่นด้วยเทคโนโลยีในการทำให้ชีวิตมนุษย์สบายขึ้น ทั้งเครื่องจักร เครื่องยนต์ที่ช่วยในการทำเกษตรกรรม แต่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ไม่ได้แสดงความก้าวล้ำเหล่านี้ไว้ให้เราดู แต่ได้เก็บคุณค่าของสิ่งประดิษฐ์ในอดีตไว้อย่างดี เป็นของจริงที่มีเรื่องราว อาทิเช่น ระหัดวิดน้ำ ที่ทำจากไม้ ชาวบ้านจะใช้ในการผันน้ำเข้าบ่อ หรือพื้นที่นา เคียวเกี่ยวข้าว คันไถ เครื่องฝัดขาว ครกตำข้าว กระต่ายขูดมะพร้าว เป็นต้น
ภาพเครื่องมือการเกษตรและเครื่องมือในการดำเนินชีวิตของคนบางนา
ที่นาพื้นสุดท้าย
จากคำบอกเล่าของทายาทตระกูลรุ่งสว่าง หนึ่งในตระกูลเก่าแก่ของย่านนี้ ในหนังสือไม่มีนาที่บางนา ทำให้เราได้ทราบแล้วว่า เขตบางนาทำไมถึงไม่มีนาแล้ว ความหนึ่งในหนังสือกล่าวไว้ว่า คุณพ่อทองคำ รุ่งสว่างประกอบอาชีพทำนาบนผืนนาแปลงสุดท้ายของเขตนี้ บริเวณท้ายซอยลาซาล จนถึง พ.ศ. 2525 และได้เลิกทำไปในที่สุด ท่ามกลางพื้นที่โดยรอบที่กลายเป็นหมู่บ้าน โรงพยาบาล โรงงาน ตึกแถว จากการที่ชาวนารุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ได้เสียชีวิตกันไปบ้าง ลูกหลานก็ไม่ได้ทำต่อ เปลี่ยนอาชีพจากราคาข้าวที่ตกต่ำ บ้างก็ขายที่ดินแล้วย้ายไปอยู่ที่อื่น
คนพัฒนาย่าน ย่านพัฒนาเมือง
แต่ถ้ามองกันไปถึงอนาคตพื้นที่บางนาถือเป็นที่จับตามองของนักลงทุน สังเกตได้จากห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอล์ โครงการคอนโดมิเนียม หมู่บ้านจัดสรร รถไฟฟ้าสายต่างๆ ก็ได้ก่อร่างสร้างเมืองแห่งนี้ให้มีชีวิตชีวาในรูปแบบใหม่ตามโครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป ในส่วนของผู้คนที่ใช้ชีวิต หรือกำลังตัดสินใจย้ายมาอยู่ในย่านนี้ บอกได้เลยว่าย่านนี้สามารถทำให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้แน่นอน
ไบเทคในสมัยที่กำลังก่อสร้าง ผู้บุกเบิกย่านบางนา
ภาพมุมสูงแสดงให้เห็นภาพการพัฒนาของย่านในปัจจุบัน พื้นที่สีเขียวที่ไม่ใช่ท้องนาอีกต่อไป
หากสนใจย้อนมองอดีต เข้าเยี่ยมชมเรื่องราวของย่านบางนาได้ที่
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพ เขตบางนา
เวลาให้บริการ : 9.00 - 16.00 น. หยุดวันเสาร์ - อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์
พิกัด : โรงเรียนวัดบางนาใน
Map : https://goo.gl/maps/gDtfCgw7m4wtxZGdA
BHIRAJ BURI GROUP collects personal data of visitor such as name, last name,
e-mail and telephone number to analyse for developing project in advance.
Read Privacy Policy.